จากคำถามที่ว่า ในกรณีบริษัทฯ ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ จึงจำเป็นจะต้องขอกู้ยืมเงินจากกรรมการ บริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างนั้น
ครูต๊ะ ขอให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังนี้ครับ
.
ข้อควรระวัง!
รายการ เจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ จากกรณีข้างต้น ถือเป็น รายการที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริง ๆ
เจ้าพนักงานประเมิน อาจพิจารณาให้จำนวนเงินดังกล่าวถือเป็น “รายได้ของกิจการ” ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ
ครูต๊ะ ขอให้ข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังนี้ครับ
.
- กรรมการ ควรเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อขออนุมัติเรื่องการกู้ยืมเงินนี้ เพราะเป็นการสร้างภาระผูกพัน หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น กรรมการอาจจะต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทฯ ด้วย
- เพื่อเป็นหลักฐานว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริง บริษัทต้องดำเนินการดังนี้
(1) จัดทำสัญญาเงินกู้ พร้อมกับติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด หรือ
(2) บริษัทฯ อาจออกเป็นลักษณะตราสารหนี้ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน และติดอากรแสตมป์ตามกฎหมายกำหนดก็ได้
- มีการโอนเงินเข้าสู่บัญชีของบริษัทฯ ตามจำนวนที่ได้กู้ยืม เพื่อพิสูจน์เส้นทางการเงินได้ว่ามีการกู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจริง
- ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินโดยต้องเสียดอกเบี้ย หากบริษัทจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่กรรมการ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ของเงินค่าดอกเบี้ยที่จ่ายให้กรรมการ ตามมาตรา 50(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
- กรณีกรรมการได้รับเงินได้ค่าดอกเบี้ยจากบริษัทฯ ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไว้แล้วนั้น กรรมการมีสิทธิเลือกไม่นำรายได้ค่าดอกเบี้ยตามมาตรา 40(4)(ก) มารวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีก็ได้ (FINAL TAX)
- กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ หากเป็นกรณีที่ กรรมการได้นำเงินของตนเองมาให้บริษัทฯ กู้ยืม และกรรมการคนดังกล่าว หากบุคคลไม่ได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน
ข้อควรระวัง!
รายการ เจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ จากกรณีข้างต้น ถือเป็น รายการที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะหากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริง ๆ
เจ้าพนักงานประเมิน อาจพิจารณาให้จำนวนเงินดังกล่าวถือเป็น “รายได้ของกิจการ” ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วยครับ