กรณีการคิดดอกเบี้ยตามข้อสอบถามข้างต้นนั้น ครูต๊ะ ขอให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาดังนี้ครับ
1. กรณีบริษัทกู้ยืมเงินจากกรรมการ
กรณีนี้ กรรมการจะมีสถานะเป็น ‘เจ้าหนี้’ ของบริษัทครับ
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยนั้น กรรมการจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือไม่ก็ได้ พี่สรรพ์ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องครับ
2. กรณีกรรมการกู้ยืมเงินจากบริษัท
กรณีนี้ กรรมการจะมีสถานะเป็น “ลูกหนี้” ของบริษัทครับ
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยนั้น บริษัทจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือไม่ก็ได้เช่นกันครับ เพราะเป็นเรื่องของคู่สัญญาที่จะตกลงกันครับ
แต่พี่สรรพ์ ก็มีอำนาจในการประเมิน “รายได้ค่าดอกเบี้ย” เพื่อนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทได้ครับ ทั้งนี้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรครับ
โดยการประเมินรายได้ค่าดอกเบี้ย จะมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทฯ ไม่ได้มีการกู้ยืมเงินมาจาก เจ้าหนี้ ที่บริษัทฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ย ให้คิด รายได้ค่าดอกเบี้ย ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์
(2) ในกรณีที่บริษัทฯ มีการกู้ยืมเงินมาจากเจ้าหนี้ และบริษัทฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ให้คิด รายได้ค่าดอกเบี้ย ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้ของบริษัทครับ
1. กรณีบริษัทกู้ยืมเงินจากกรรมการ
กรณีนี้ กรรมการจะมีสถานะเป็น ‘เจ้าหนี้’ ของบริษัทครับ
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยนั้น กรรมการจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือไม่ก็ได้ พี่สรรพ์ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องครับ
2. กรณีกรรมการกู้ยืมเงินจากบริษัท
กรณีนี้ กรรมการจะมีสถานะเป็น “ลูกหนี้” ของบริษัทครับ
ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยนั้น บริษัทจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือไม่ก็ได้เช่นกันครับ เพราะเป็นเรื่องของคู่สัญญาที่จะตกลงกันครับ
แต่พี่สรรพ์ ก็มีอำนาจในการประเมิน “รายได้ค่าดอกเบี้ย” เพื่อนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะของบริษัทได้ครับ ทั้งนี้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากรครับ
โดยการประเมินรายได้ค่าดอกเบี้ย จะมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีที่บริษัทฯ ไม่ได้มีการกู้ยืมเงินมาจาก เจ้าหนี้ ที่บริษัทฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ย ให้คิด รายได้ค่าดอกเบี้ย ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์
(2) ในกรณีที่บริษัทฯ มีการกู้ยืมเงินมาจากเจ้าหนี้ และบริษัทฯ ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ให้คิด รายได้ค่าดอกเบี้ย ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้ของบริษัทครับ